วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


19 เมษายน 2562
จากอาทิตย์ที่แล้ว อาจารย์ได้ให้สรุปมาตรฐานของคณิตศาสตร์ ดังนี้



สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

  • มาตรฐาน ค 1.1            เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
  • มาตรฐาน ค 1.2            เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
  • มาตรฐาน ค 1.3            ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
  • มาตรฐาน ค 1.4            เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้


สาระที่ 2 การวัด
  • มาตรฐาน ค 2.1            เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
  • มาตรฐาน ค 2.2            แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด


สาระที่ 3          เรขาคณิต
  • มาตรฐาน ค 3.1            อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
  • มาตรฐาน ค 3.2            ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา


สาระที่ 4 พีชคณิต
  • มาตรฐาน ค 4.1            เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
  • มาตรฐาน ค 4.2            ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์  (mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา


 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • มาตรฐาน ค 5.1            เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • มาตรฐาน ค 5.2            ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
  • มาตรฐาน ค 5.3            ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา


สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • มาตรฐาน ค 6.1            มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


สาระที่ควรเรียนรู้

สาระในส่วนนี้กำหนดเฉพาะหัวข้อไม่มีรายละเอียดทั้งนี้  เพื่อประสงค์จะให้ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ ความสนใจของเด็ก   อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดยคำนึงถึงประสบการณ์  และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ผู้สอนสามารถนำสาระที่ควรเรียนรู้มาบูรณาการ จัดประสบการณ์ต่างๆให้ง่ายต่อการ เรียนรู้  ทั้งนี้มิได้ประสงค์ให้เด็กท่องจำเนื้อหา  แต่ต้องการให้เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำ สาระการเรียนรู้นั้นๆมาจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ สาระที่ควรเรียนรู้ยังใช้เป็นแนวทางช่วยผู้สอนกำหนดรายละเอียดและความยากง่ายของเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก  ดังนี้
(1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดีทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้ว เด็กควรจะเกิดแนวคิดดังนี้
  • ฉันมีชื่อตั้งแต่เกิด   ฉันมีเสียง  รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนใคร  ฉันภูมิใจที่เป็น ตัวฉันเองเป็นคนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง  เช่น  แต่งตัว  แปรงฟัน รับประทานอาหาร  ฯลฯ         
  • ฉันมีอวัยวะต่าง  ๆ  เช่น ตา หู จมูก ปาก  ขา  มือ  ผม นิ้วมือ  นิ้วเท้า ฯลฯ และ ฉันรู้จักวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  มีสุขภาพดี
  • ฉันต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกาย และพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
  • ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่าง ๆ รู้จักระมัดระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นเมื่อทำงาน   เล่นคนเดียว  และเล่นกับผู้อื่น
  • ฉันอาจรู้สึกดีใจ  เสียใจ  โกรธ  เหนื่อย  หรืออื่น ๆ   แต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกในทางที่ดี และเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น หรือทำสิ่งต่าง ๆด้วยความคิดของตนเอง  แสดงว่าฉันมีความคิดสร้างสรรค์  ความคิดของฉันเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนอื่นก็มีความคิดที่ดีเหมือนฉันเช่นกัน


 (2)   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก   เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
  • ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย  อาหาร  เสื้อผ้า  และยารักษาโรค  รวมทั้งต้องการความรัก  ความเอื้ออาทร  ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน  ช่วยกันทำงานและปฏิบัติตามข้อตกลงภายในครอบครัว  ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว  ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ  ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่าง ๆ  เช่น  วันเกิดของบุคคลในครอบครัว  วันทำบุญบ้าน ฯลฯ  ฉันภูมิใจในครอบครัวของฉัน
  • สถานศึกษาของฉันมีชื่อเป็นสถานที่ที่เด็กๆมาทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่            รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ   ช่วยกันรักษาความสะอาดและทรัพย์สมบัติของสถานศึกษา  ส่วนครูรักฉันและเอาใจใส่ดูแลเด็กทุกคน  เวลาทำกิจกรรมฉันและเพื่อนจะช่วยกันคิด  ช่วยกันทำ  รับฟังความคิดเห็น  และรับรู้ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
  • ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สำคัญ  คนในท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มีอาชีพที่หลากหลาย  เช่น ครู แพทย์  ทหาร  ตำรวจ   ชาวนา  ชาวสวน  พ่อค้า  แม่ค้า  ฯลฯ   ท้องถิ่นของฉันมีวันสำคัญของตนเอง  ซึ่งจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป
  • ฉันเป็นคนไทย มีวันสำคัญของชาติ   ศาสนา และ พระมหากษัตริย์  มี วัฒนธรรม   ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง  ฉันและเพื่อนนับถือศาสนา หรือมีความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้  ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ฉันภูมิใจที่ฉันเป็นคนไทย

(3)  ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ            แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว  มีดังนี้
  • ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด น้ำและอาหารเพื่อเจริญเติบโต  สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะอากาศ ฤดูกาล และยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน   สำหรับสิ่งไม่มีชีวิต  เช่น  น้ำ  หิน  ดิน  ทราย ฯลฯ   มีรูปร่าง  สี  ประโยชน์  และโทษต่างกัน
  • ลักษณะอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้  บางครั้งฉันทายลักษณะอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว  เช่น  เมฆ  ท้องฟ้า  ลม  ฯลฯในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก  คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
  • สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น ต้นไม้ สัตว์ น้ำ ดิน  หิน ทราย อากาศ  ฯลฯ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตต้องได้รับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบๆตัวฉัน  เช่น  บ้านอยู่อาศัย  ถนนหนทาง  สวนสาธารณะ  สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ  เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน  ทุกคนรวมทั้งฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดย ไม่ทำลายและบำรุงรักษาให้ดีขึ้นได้

(4)  สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
  • สิ่งต่างๆรอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส น้ำบริสุทธิ์  อากาศบริสุทธิ์  ฉันเห็นสีต่างๆด้วยตา  แสงสว่างช่วยให้ฉันมองเห็นสี  สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ฉันสามารถเห็น ตามดอกไม้  เสื้อผ้า  อาหาร  รถยนต์  และอื่น ๆ  สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆกัน  เช่น แดง  เหลือง น้ำเงิน  ฯลฯ   สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน  สีบางสีสามารถใช้เป็นสัญญาณ  หรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
  • สิ่งต่าง ๆ  รอบตัวฉันมีชื่อ  ลักษณะต่าง ๆ  กัน  สามารถแบ่งตามประเภท  ชนิด  ขนาด  สี  รูปร่าง  พื้นผิว  วัสดุ  รูปเรขาคณิต  ฯลฯ
  • การนับสิ่งต่าง ๆ ทำให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ  และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้  ฉันเปรียบเทียบสิ่งของต่างๆ ตามขนาด  จำนวน  น้ำหนัก  และจัดเรียงลำดับสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด  ตำแหน่ง  ลักษณะที่ตั้งได้
  • คนเราใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวัน  เช่น   เงิน  โทรศัพท์  บ้านเลขที่ ฯลฯ ฉันรวบรวมข้อมูลง่าย ๆ  นำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยนำเสนอด้วยรูปภาพ  แผนภูมิ   แผนผัง  แผนที่  ฯลฯ
  • สิ่งที่ช่วยฉันในการชั่ง ตวง วัด  มีหลายอย่าง  เช่น  เครื่องชั่ง  ไม้บรรทัด  สายวัด  ถ้วยตวง  ช้อนตวง  เชือก  วัสดุ  สิ่งของอื่น ๆ  บางอย่างฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือ กะประมาณ
  • เครื่องมือเครื่องใช้มีหลายชนิดและหลายประเภท  เช่น  เครื่องใช้ในการทำสวน การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน  ฯลฯ  คนเราใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน  แต่ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในเวลาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือใช้ผิดประเภท  เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
  • ฉันเดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ด้วยการเดินหรือใช้ยานพาหนะ  พาหนะบางอย่างที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่  คนเราเดินทางหรือขนส่งได้ทั้งทางบก  ทางน้ำ  ทางอากาศ   พาหนะที่ใช้เดินทาง  เช่น  รถยนต์   รถเมล์  รถไฟ   เครื่องบิน  เรือ  ฯลฯ  ผู้ขับขี่จะต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่และทำตามกฎจราจรเพื่อความปลอดภัยของทุกคน และฉันต้องเดินบนทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลาย  สะพานลอย  หรือตรงที่มีสัญญาณไฟ  เพื่อความปลอดภัยและต้องระมัดระวังเวลาข้าม
  • ฉันติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆได้หลายวิธี  เช่น โดยการไปมาหาสู่   โทรศัพท์  โทรเลข  จดหมาย  จดหมายอิเลคทรอนิคส์   ฯลฯ  และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา  ฟังวิทยุ  ดูโทรทัศน์  และอ่านหนังสือ  หนังสือเป็นสื่อในการ ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันก็จะมีความรู้ ความคิดมากขึ้น   ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน

แผ่นพับรายงานผู้ปกครอง

1. หน้าปก


2. เป็นการบอกว่าจะจัดการเรียนการสอนในเรื่องอะไร และต้องการให้ผู้ปกครองช่วยอะไร


3. บอกถึงข้อมูลของหน่วยที่เราจะจัดการเรียนการสอน


4. เป็นข้อเสนอแนะในการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสอนเด็กที่สามารถทำได้ที่บ้าน


5. เป็นเกมส์ หรือ แบบฝึกหัดให้เด็กได้ฝึกทำ





คำศัพท์
1. mathematics                คณิตศาสตร์
2. Learning                   สาระการเรียนรู้
3. Brochures                  แผ่นพับ
4. The unit                   หน่อยการเรียนรู้
5. conclude                   สรุป
6. Geometry                   เรขาคณิต
7. algebra                    พีชคณิต
8. analyze                    วิเคราะห์
9. Math skills                ทักษะทางคณิตศาสตร์
10.probability                ความน่าจะเป็น



การประเมิน
ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจกิจกรรม ช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้อย่างเข้าใจ ไม่เข้าใจตรงไหน ก็ย้อนกลับมาอธิบายให้เข้าใจไปพร้อมๆกัน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

19 เมษายน 2562




          วันนี้อาจารย์ได้นัดหมายให้เรียนรวมทั้ง 2 เซค เพราะจะทำการบอกแนวข้อสอบ และทำการติวก่อนสอบ โดยเนื้อหาที่เรียนในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ มาตรฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้ให้ทำ my map ส่งในห้องเรียน ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ คือ
  • ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  • เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
  • สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • คุณภาพของเด็กเมื่อการศึกษาปฐมวัย
  • ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
  • การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
  • การวัดและการประเมินผล



ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้  

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
ô จำนวน
       -  การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ




       -  การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก   และตัวเลขไทย 

1.  นับปากเปล่าจาก 1 ถึง 5
2.  บอกจำนวนสิ่งต่าง ๆ ไม่เกิน 
     5 สิ่ง  โดยการนับ
3.  แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่
     กำหนดให้ตั้งแต่ 1 ถึง 5
4.  อ่านตัวเลขฮินดูอารบิก 1  
     ถึง 5
5.  ระบุตัวเลขฮินดูอารบิกแสดง 
     จำนวนของสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 1    
     ถึง 5

1.  นับปากเปล่าจาก 1 ถึง 10
2.  บอกจำนวนสิ่งต่าง ๆ ไม่เกิน 
     10 สิ่ง  โดยการนับ
3.  แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่
     กำหนดให้ตั้งแต่ 1 ถึง 10
4.  อ่านตัวเลขฮินดูอารบิก 1
      ถึง 10
5.  ระบุตัวเลขฮินดูอารบิกแสดง 
     จำนวนของสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 1    
     ถึง 10

1.  นับปากเปล่าจาก 1 ถึง 20
2.  นับปากเปล่าถอยหลังจาก 1  
      ถึง 20
3.  บอกจำนวนสิ่งต่าง ๆ ไม่เกิน 
     20 สิ่ง โดยการนับ
4.  แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่
     กำหนดให้ตั้งแต่ 1 ถึง 20
5.  อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
     1 ถึง 20
6.  อ่านตัวเลขไทย ๑ ถึง ๙



สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
       -  การเขียนตัวเลข
       ฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
       -  การเปรียบเทียบจำนวน





       -  การเรียงลำดับจำนวน 



        

6.  เปรียบเทียบจำนวนของสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่ม  โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 5 ว่า มีจำนวน
เท่ากัน  หรือไม่เท่ากัน








6.   เปรียบเทียบจำนวนของสิ่ง   
      ต่าง ๆ สองกลุ่ม  โดยแต่ละ
      กลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 10  
      ว่า มีจำนวนเท่ากัน  หรือไม่
      เท่ากัน  กลุ่มใดมีจำนวน
      มากกว่า  หรือ  น้อยกว่า
7.   บอกอันดับที่ของสิ่งต่าง ๆ
      ไม่เกิน 3 สิ่ง
8.   ระบุสิ่งที่อยู่ในอันดับที่ที่
      กำหนดให้


7.   เปรียบเทียบจำนวนของสิ่งต่าง ๆ
      สองกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มมีจำนวน 
      ไม่เกิน 20 ว่า มีจำนวนเท่ากัน 
      หรือไม่เท่ากัน  กลุ่มใดมีจำนวน
       มากกว่า  หรือน้อยกว่า

8.  บอกอันดับที่ของสิ่งต่าง  ๆ ไม่เกิน
     5  สิ่ง
9.  ระบุสิ่งที่อยู่ในอันดับที่ที่
      กำหนดให้


สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
ô การรวมและการแยกกลุ่ม
       -  ความหมายของการรวม
      -  การรวมสิ่งต่าง ๆ  สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10 
       -  ความหมายของการแยก 
      -  การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

7.   บอกได้ว่าเมื่อนำสิ่งต่าง ๆ
      สองกลุ่มมารวมกัน  จะมี
      จำนวนของสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
8.   บอกได้ว่าเมื่อนำสิ่งต่าง ๆ
      ออกจากกลุ่ม  จำนวนของสิ่ง
      ต่าง ๆ ในกลุ่มจะน้อยลง
9.   บอกจำนวนทั้งหมดที่เกิด
      จากการรวมสิ่งต่าง ๆ สอง
      กลุ่มที่ มีผลรวมไม่เกิน 5
10. บอกจำนวนที่เหลือ  เมื่อแยก
      กลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่
     ที่มีจำนวนไม่เกิน 5

10. บอกจำนวนทั้งหมดที่เกิดจากการรวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวม
ไม่เกิน  10
11. บอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ
      สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
12. บอกจำนวนที่เหลือ  เมื่อแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
ô ความยาว  น้ำหนัก   
      และปริมาตร
       - การเปรียบเทียบความยาว
       -  การวัดความยาวโดยใช้
      เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่
      มาตรฐาน
       -  การเรียงลำดับความยาว 
       -  การเปรียบเทียบน้ำหนัก 
       -  การชั่งโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน 
       -  การเรียงลำดับน้ำหนัก


1.  การเปรียบเทียบความยาว/
     ความสูงของสิ่งของต่าง ๆ
     โดยใช้คำ  ยาวกว่า / สั้นกว่า /
     สูงกว่า  เตี้ยกว่า / ยาวเท่ากัน
     / สูงเท่ากัน
2.  เปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่ง
     ต่าง ๆ โดยใช้คำ หนักกว่า /
     เบากว่า / หนักเท่ากัน



1.  เรียงลำดับความยาว / ความสูงของสิ่งต่าง ๆ ไม่เกิน  3  สิ่ง



2.  เรียงลำดับน้ำหนักของสิ่ง ต่าง ๆ ไม่เกิน  3 สิ่ง


1.  วัดและบอกความยาว / ความสูง
     ของสิ่งต่าง ๆ ที่กำหนดให้  โดยใช้
     เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วย
     มาตรฐาน

2.  ชั่งและบอกน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ
     ที่กำหนดให้  โดยใช้เครื่องมือ
     และหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน


สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
       -  การเปรียบเทียบปริมาตร
       -  การตวงโดยใช้เครื่องมือ
       และหน่วยที่ไม่ใช่หน่วย
       มาตรฐาน
       -  การเรียงลำดับปริมาตร 
ô เงิน 
       -  ชนิดและค่าของเงินเหรียญ 
      และธนบัตร 
ô เวลา 
       -  ช่วงเวลาในแต่ละวัน
       -  ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่
       ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
3.  การเปรียบเทียบปริมาตรของ
     สิ่งของต่าง ๆ โดยใช้คำ 
     ปริมาตรมากกว่า  ปริมาตร
     น้อยกว่า  ปริมาตรเท่ากัน






4.  บอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์
     ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นใน
     ช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
3.  เรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่าง ๆ ไม่เกิน  3  สิ่ง







4.  บอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์
      ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นใน
      ช่วงเวลา  เช้า  เที่ยง  เย็น
5.   เรียงลำดับกิจกรรมหรือ
      เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน 
      ตามช่วงเวลา
3.  ตวงและบอกปริมาตรของสิ่ง   ต่าง  ๆ ที่กำหนดให้  โดยใช้เครื่องมือ
     และหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน




4.  บอกชนิดและค่าของเงินเหรียญ
     1  บาท  2 บาท  5 บาท  10 บาท
     และธนบัตรฉบับละ 20 บาท 
5.  เรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
6.   บอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่
      เกิดขึ้นเมื่อวาน  วันนี้  พรุ่งนี้

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
ô ตำแหน่ง  ทิศทาง  และ 
      ระยะทาง
       -  การบอกตำแหน่ง  ทิศทาง
       และระยะทางของสิ่งต่างๆ


1.  บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ
     ที่กำหนดโดยใช้คำ  ข้างบน 
     ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก



1.  บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ที่
     กำหนดโดยใช้คำ  ข้างบน 
     ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก 
     ข้างหน้า  ข้างหลัง  และแสดง
     สิ่งต่าง ๆ ตามตำแหน่งที่
     กำหนด


1.  บอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และ
     ระยะทางของสิ่งต่าง ๆ ที่
     กำหนดให้โดยใช้คำข้างบน 
     ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก 
     ข้างหน้า  ข้างหลัง  ระหว่าง  ข้าง
    ซ้าย  ข้างขวา  ใกล้  ไกล  และ
    แสดงสิ่งต่าง ๆ ตามตำแหน่ง   
    ทิศทาง  และระยะทางที่กำหนดให้

มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก  จำแนกรูปเรขาคณิต  และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
ô รูปเรขาคณิตสามมิติ   
       และรูปเรขาคณิตสองมิติ
       -  ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยม 
       มุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก 
        - รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม 
        รูปสี่เหลี่ยม

1.  แสดงสิ่งต่าง ๆ ใน
     ชีวิตประจำวันที่เหมือนหรือ
     คล้าย  ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยม
     มุมฉากที่กำหนดให้


1.  แสดงสิ่งต่าง ๆ ใน
     ชีวิตประจำวันที่เหมือนหรือ
     คล้าย  ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยม
     มุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก 
     ที่กำหนดให้
2.  จำแนก  ทรงกลม 
     ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


1.  แสดงสิ่งต่าง ๆ ใน
     ชีวิตประจำวันที่เหมือนหรือ
     คล้าย  ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยม
     มุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก 
     ที่กำหนดให้
2.  จำแนก  ทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยม
     มุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก
3.  แสดงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
     ที่เหมือนหรือคล้าย  รูปวงกลม 
     รูปสามเหลี่ยม  และรูปสี่เหลี่ยมที่   
     กำหนดให้
4.  จำแนกรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม
     รูปสี่เหลี่ยม
สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
       -  การเปลี่ยนแปลง
       รูปเรขาคณิตสองมิติ 



        - การสร้างสรรค์งานศิลปะ 
       รูปเรขาคณิตสามมิติ   
       และสองมิติ





2.  สร้างสรรค์งานจากทรงกลม 
     ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก






3.   สร้างสรรค์งานจากทรงกลม 
       ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย
       ทรงกระบอก

5.   บอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
      จากการตัด  ต่อเติม  พับหรือคลี่ 
      รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม 
      รูปสี่เหลี่ยม

6.  สร้างสรรค์งานจากทรงกลม
      ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย
      ทรงกระบอก  แระรูปวงกลม
      รูปสามเหลี่ยม    รูปสี่เหลี่ยม

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี
ô แบบรูปและความสัมพันธ์
       -  แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง
       ขนาด  หรือสี  ที่สัมพันธ์กัน 
       อย่างใดอย่างหนึ่ง


1.  วางแบบรูปให้เหมือนกับ
      แบบรูปที่กำหนดให้

1.  ต่อแบบรูปให้เข้าชุดกับแบบรูป
     ที่กำหนด
2.  สร้างแบบรูปตามความคิด
     ของตนเอง

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  และนำเสนอ
สาระการเรียนรู้ 
ตัวชี้วัด 
อายุ 3 ปี 
อายุ 4 ปี 
อายุ 5 ปี 
ô การเก็บรวบรวมข้อมูล 
       และการนำเสนอ 
       -  การนำเสนอข้อมูลในรูป
       แผนภูมิอย่างง่าย 





1.  มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอ
     ข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิ
     อย่างง่าย


สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
            ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ได้แก่  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
            ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เด็กบรรลุตามตัวชี้วัดในสาระที่ 1 – 5  ครูควรสอดแทรกทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ  เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสคุ้นเคยและเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไป



คำศัพท์

1.     Importance       ความสำคัญ
2.     Learning          เรียนรู้
3.     Standard          มาตรฐาน
4.     Quality            คุณภาพ
5.     Indicators         ตัวชี้วัด
6.     Experience arrangement การจัดประสบการณ์
7.     Evaluation        การประเมินผล
8.     Information      ข้อมูล
9.     Thinking         การคิด
10.  Creative        สร้างสรรค์



ประเมินอาจารย์          อาจารย์ให้คำปรึกษาในการทำแผนผังความคิด และได้แนะแนวสิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้ ทำให้รู้จัก ฝึกการคิดให้รอบคอบมากขึ้น
ประเมินตัวเอง           ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายดีมาก แต่ไม่ได้ไปรับผลงานคืน 
ประเมินเพื่อนๆ         ทุกคนให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรมในห้อง อาจมีเสียงดังบ้างเล็กน้อย แต่ก็ทำงานที่ได้รับมมอบหมายเป็นอย่างดี