วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

25 มกราคม 2562


กิจกรรมที่ 1 การทำตารางตัวเลข

     อุปกรณ์การทำสื่อ

1.กระดาษแบบแข็งแผ่นใหญ่

2.แผ่นรองตัด
3.ไม้บรรทัด
4.กรรไกร
5.มีดคัตเตอร์
6.
ดินสอ
7.สีเมจิก
8.เท็ปใส

      ขั้นตอนการทำสื่อ

ขั้นตอนที่ 1  นำกระดาษแบบแข็งแผ่นใหญ่มาตัดแบ่ง 4 แผ่นเท่าๆกัน 



ขั้นตอนที่ 2   นำมาตัดแบ่งช่องเป็นแนวนอน 10 ช่อง  แนวตั้ง 2 แถว ช่องละ 2 นิ้วทั้งหมด  2 ชุด

ขั้นตอนที่ 3  นำกระดาษที่เหลือ มาตัดทำหน่วยของจำนวน โดยวัดแล้วตัดในแนวนอน 2นิ้ว แนวตั้ง 4นิ้ว พร้อมทั้งเขียน หน่วย สิบ ไว้ที่ช่องแนวนอน 2 นิ้ว 


ขั้นตอนที่ 4 นำเท็ปใสมาติดชิ้นส่วนตารางกับหน่วยของจำนวนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถพับได้

ขั้นตอนที่ 5  นำกระดาษขาวที่เหลือมาเขียนตัวเลข  0-9  ช่องละ 1 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง ทำ 2ชุด


กิจกรรมที่ 2 ปั้นดินน้ำมัน 

อุปกรณ์ 

  1. ดินน้ำมัน
  2. แผ่นรองปั้นดินน้ำมัน
  3. ผลงานจากกิจกรรมที่ 1 
วิธีการสอน
         อันดับแรกอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ หลังจากนั้นก็แจกดินน้ำมัน และให้ปั้นผลไม้อะไรก็ได้ตามใจชอบ โดยไม่บังคับว่า ต้องเป็นลักษณะอย่างไร และใช้สีอะไร เมื่อปั้นเสร็จก็ให้บอกชื่อภาษาอังกฤษ ของผลไม้นั้นๆ





         หลังจากนั้นก็นำผลงานจากกิจกรรมที่ 1 มา และให้นำผลไม้ของตนมาวางเรียงจากซ้ายไปขวา และนับจำนวน โดยใส่เลขไว้ที่ผลไม้ผลสุดท้าย จากนั้นก็ให้แบ่งผลไม้ โดยหาเกณฑ์ต่างๆ เช่น ผลไม้ที่มีทรงกลม ผลไม่ที่มีหยาม ผลไม้สีแดง ผลไม้ที่มีเปลือก เป็นต้น สุดท้ายคือการบวกลบเลข โดยการเปรียบเทียบจำนวน อาจารย์เริ่มนำเข้าสู่การสอน สรุปได้ดังนี้

          "คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ และเป็นเครื่องมือที่จะต้องใช้เหตุและผล ดังนั้น การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จึงไม่เหมาะที่จะเริ่มต้นด้วย บวก ลบ คูณ หาร และสิ่งที่เป็นนามธรรม เพราะไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะวิธีการเรียนรู้ของเด็กคือ การที่เด็กได้ลงมือกระทำ กับวัตถุ สิ่งของ และสภาพแวดล้อม โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเด็กมีโอกาสเลือกตัดสินใจด้วยตัวเอง อยู่บนพื้นฐานความสนุกสนาน"
          **เพิ่มเติม  การใช้เกณฑ์สำหรับเด็ก ไม่ควรมีหลายเกณฑ์ ควรยึดเกณฑ์เดียวเป็นหลัก โดยเด็กจะใช้ทักษะการสังเกตให้เชื่อมโยงกับเกณฑ์

การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (Learning by doing)


           การลงมือทำหมายถึง ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติการจริงคือ ผู้เรียนได้ฝึกในสภาพสิ่งแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ทั้งนี้ การสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัยและได้ผลตามความคาดหวังของสังคมนั้น การจัดประสบการณ์จะให้ความสำคัญกับบทบาทการเรียนรู้ของเด็ก จึงได้มีการศึกษาแนว คิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ การใช้แนวคิดที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำหรือการปฏิบัติในสภาพจริง จึงเป็นที่สนใจและนำมาใช้ ดังที่ประเทศไทยได้กำหนดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 เน้นให้มีแนวการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกล่าวถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำ


การเรียนรู้โดยการลงมือทำคืออะไร?

          การเรียนรู้โดยการลงมือทำเป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป มีความสุขที่จะเรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กกับคณิจต


การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีที่มาอย่างไร?


          การเรียนรู้โดยลงมือกระทำมาจากปรัชญาหรือความเชื่อของปรัชญา พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) หรือบางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อ “การปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ” เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองคือ การให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่จะสืบค้นหาความรู้

          นักการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่มีความเชื่อปรัชญาการศึกษานี้คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้นำนักปราชญ์ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด จึงมีวลีที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการจัดการศึกษาคือ “Learning by doing” “หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง” แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือ

  • ➨ แนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา
  • ➨ มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ
  • ประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภทคือ
    • ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรอง
    • ขั้นทุติยภูมิ คือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของขั้นที่สอง
          ปรัชญาของ จอห์น ดิวอี้ เป็นปรัชญาที่ยกย่องประสบการณ์ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการกระทำในสถานการณ์จริง การศึกษาตามทัศนะของจอห์น ดิวอี้คือ ความเจริญ งอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถาน การณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวน การต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ ปัญหา เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นและแก้ปัญหาเป็น โดยการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ บางครั้งก็เรียนวิธีสอนนี้ว่าการสอนแบบวิทยาศาสตร์

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีลักษณะอย่างไร?



  • ⇨ มีจุดมุ่งหมาย มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาไปใช้ในการตัดสินใจ
  • ⇨ จัดการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความถนัดและความสนใจ
  • ⇨ ครูมีลักษณะของการเป็นผู้รอบรู้และมีประสบการณ์ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน
  • ⇨ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรับประสบการณ์จากการกระทำของตนเอง ผู้เรียนได้ทดลอง ทำปฏิบัติ สืบเสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล หาข้อสรุป และหาวิธีการกระบวนการด้วยตนเอง
  • ⇨ จัดหลักสูตรจะเน้นประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นหลักสูตรกิจกรรม









ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กกับคณิจต

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร


  • เด็กจะเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง
  • ➡ เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ ลำตัว แขน ขา และกล้ามเนื้อเล็กซึ่งได้แก่ นิ้วมือ
  • ➡ เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทำให้เกิดเป็นประสบการณ์
  • ➡ เด็กได้รู้จักการสืบค้นหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา
  • ➡ เด็กจะได้เข้าใจธรรมชาติ
  • ➡ เด็กจะเกิดความคิดสร้างสรรค์
  • ➡ เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
  • ➡ เด็กได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ➡ เด็กจะได้พัฒนาวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ รวมทั้งรับรู้ลักษณะอารมณ์แต่ละชนิด เช่น ชอบกลิ่นหอม แต่ไม่ชอบกลิ่นเหม็น ไม่ชอบเดินเท้าเปล่าเหยียบก้อนหินที่แข็งหยาบ แต่จะรู้สึกชอบเดินบนพรมที่อ่อนนุ่นสบายฝ่าเท้า ไม่ชอบเสียงดนตรีที่แผดเสียงดัง แต่ชอบเสียงดนตรีบรรเลงเพลงเบาๆ เป็นต้น
  • ➡ เด็กจะได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้คิดและเข้าใจความเป็นเหตุผล



















ประเมินอาจารย์ อาจารย์พาทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ สามารถนำความรุู้จากตรงนี้ไปใช้ได้จริง
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรม และช่วยเพื่อนตอบคำถามจากอาจารย์
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม และให้ความร่วมมือทำกิจกรรมดีมาก


คำศัพท์

1. Mangosteen   มังคุด                
2. Strawberry       สตอเบอร์รี่    
3. Banana              กล้วย  
4. Watermelon     แตงโม                   
5. Durian               ทุเรียน             
6. Rose apple        ชมพู่                 
7. Custard apple   น้อยหน่า             
8. Mango               มะม่วง
9. Cherry                เชอร์รี่  
10. Grape                 องุ่น              
11. Apple                 แอปเปิ้ล 
12. Tamarind           มะขาม          
13. Orange               ส้ม                              


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น