วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

22 กุมภาพันธ์ 2562



กิจกรรมที่1

นำเสนอ แผนผังความคิด เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์ของเด็กปฐมวัย โดยมีหัวข้อหลัก 3 หัวข้อ คือ กิจกรรม สื่อ และ เทคนิค



กิจกรรมทางคณิตศาสตร์
      กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล



สื่อคณิตศาสตร์
      สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อเด็กปฐมวัย
         1.   ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง และมีความหมายชัดเจน
         2.   เรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
         3.   เด็กปฐมวัยจำและประทับใจไม่ลืมง่าย
         4.   ช่วยให้เด็กปฐมวัยสนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
         5.   ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน
         6.   สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก
         7.   ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น

 









เทคนิค
1. เด็กจะสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุโดยวิธีธรรมชาติ หรือด้วยตนเองเท่านั้น
 2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น
 3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่าง     ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น  ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเองได้สัมผัสได้จัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ  มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม การจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ทำแบบฝึกหัดในสมุด หรือแม้แต่การใช้เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ แผ่นใส ภาพนิ่งประกอบ ก็คือ การสอนโดยใช้สื่อที่เป็นนามธรรมนั่นเอง เด็กมักจะถูกสอนให้จัดกระทำกับจำนวน เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งอันที่จริงแล้วการเรียนในระดับเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้นนั้น การสร้างมโนทัศน์มีความสำคัญกว่าการคิดคำนวณ การเริ่มสอนเด็กด้วยการให้เด็กคิดคำนวณนั้น เป็นวิธีการสอนที่ผิดอย่างยิ่ง จำนวนเครื่องหมายนามธรรมที่ไม่มีความหมายใด ๆ เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้น  ให้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย มีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง ดังนั้นการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ที่
เป็นของจริงให้มากที่สุด และต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม ดังนี้
     1.1  ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
     1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
     1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด  
     1.4  ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น
     5.1 เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข
     5.2 เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ
     5.3 การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ
     5.4 แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน
     5.5 ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน
     5.6 ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
     5.7 เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาวน์ดังนั้น  หลักการจัดประสบการณ์ทาง


คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ" กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้น  เด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคน


กิจกรรมที่ 2

คาบนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับ รูปทรงเรขาคณิต คาบที่แล้วอาจารย์ให้นำไม้จิ่มฟันมาคนละ 10 อัน เพื่อทำมาประกอบการเรียน อาจารย์ได้แจกดินน้ำมันให้คนละ 1 ก้อน แล้วปั้นให้เป็นรูปทรงเลขาคณิตมา 1 อย่าง โดยปั้นเป็น 2 มิติ จากนั้นให้นำไม้จิ้มฟัน มาให้คิดต่อไปอีกว่า จากรูปที่เราปั้นนั้น จะทำอย่างไรให้เด็กเห็นภาพได้ชัดขึ้น ว่าที่เราปั้นมาเป็นรูปทรงเลขาคณิต


การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง สำคัญอย่างไร?
คนเราอยู่ท่ามกลางความเป็นธรรมชาติตลอดจนสิ่งที่คนเราสร้างสรรค์มาเพื่อการดำรงชีวิต จึงจำเป็นที่คนเราต้องเรียนรู้สิ่งที่ตนเองจะเกี่ยวข้องทั้งกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพึ่งพาซึ่งกันและกัน เรียนรู้ลักษณะความเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักรู้ถึงคุณค่าและภัยจากสิ่งเหล่านั้นด้วย รูปทรงและรูปร่างเป็นสิ่งที่อยู่ในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มีรูปทรงกลม กิ่งไม้มีรูปร่างคดเคี้ยวบ้าง ตรงบ้าง คนเรามีรูปร่าง เสื้อที่เราสวมใส่มีรูปร่างคล้ายตัวของเรา เป็นต้น เมื่อสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีรูปทรงและรูปร่าง จึงมีความจำเป็นที่ต้องสอนให้เด็กเข้า ใจโลกและสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเด็ก การสอนทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะใช้สมองเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ฝึกให้เด็กสังเกต จำแนก บอกเล่าผลการกระทำอย่างเป็นเหตุเป็นผล การได้ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทำให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพการสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมาย ละเอียด รอบคอบ ค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการส่ง เสริมให้เป็น ผู้ใฝ่รู้ และเป็นผู้รู้จักคิดเป็น สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมตามวัย
การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
การสอนเรื่องรูปร่างและรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อของตนเอง ช่วยให้เด็กเป็นผู้รู้จักการสังเกต ช่างสงสัย ค้นคว้าและแก้ปัญหาได้ต่อไป
  • ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่างและรูปทรง สิ่งต่างๆรอบตัวเรา คนเราตั้งชื่อเรียกเพื่อสื่อสาร เมื่อเด็กได้เห็นและสัมผัสสิ่งเหล่านั้น ผู้ใหญ่แนะนำให้เด็กรู้จัก แต่บางครั้งเด็กก็ได้ยินเพื่อนพูด เขาก็เลียนแบบคำพูดเหล่า นั้น เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเด็กได้บล็อกรูปทรงต่างๆ เด็กนำไปเล่นสร้างเป็นสิ่งใหม่ ได้พูดหรือเล่าสิ่งที่สร้างขึ้น เด็กได้ใช้ภาษาการเล่นเกี่ยวกับรูปทรง จึงเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมภาษาให้แก่เด็ก
  • เด็กได้ฝึกการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมา เด็กจะพัฒนาการคิดตามวัยนับตั้งแต่แรกเกิด สำหรับเด็กที่ย่างเข้าวัย 5 ขวบ เขาสามารถที่จะคิดสร้างอะไรๆจากวัตถุต่างๆเหล่านั้น เช่น มีบล็อกรูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม และวัสดุธรรมชาติที่มีรูปร่างธรรมชาติ เด็กอาจจะสร้างเป็นบ้าน ร้านค้า เครื่องบิน รถ เป็นต้น แม้ว่า บางครั้งสิ่งที่สร้างไม่เป็นดังที่เด็กคิดเสมอไป แต่ก็เป็นประโยชน์ที่เด็กได้คิด มีความพอใจที่ได้กระทำ บางครั้งเราจะสังเกตได้ว่า เด็กมีความพยายามที่จะทำสิ่งที่คิดจนสำเร็จ จึงเป็นการเสริมสร้างความอดทน แม้เด็กจะสร้างสิ่งต่างๆ ซ้ำๆ จากวัตถุเดิม แต่การคิดของเด็กจินตนา การของเด็กมักจะเปลี่ยนไป
  • การส่งเสริมเด็กเรียนรู้จากการเล่นเป็นการตอบสนองเด็กได้ดีตามธรรมชาติเด็ก การเล่นวัตถุที่เป็นรูปทรง ในระยะ แรกเด็กบางคนอาจจะคิดทำไม่ได้โดยทันที แต่เด็กมีเพื่อนเล่น เด็กจะได้ดู หรือสังเกตเพื่อนเล่น จัดได้ว่าเป็นการเรียนรู้ของคนเราอีกวิธีหนึ่ง การสนับสนุนให้เด็กได้เล่นจึงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบวิธีการหาความรู้
  • เด็กได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นคือรูปทรง และวัตถุที่มีรูปร่างต่างๆ เด็กได้เปรียบเทียบเห็นความเหมือน ความแตกต่าง และความคล้าย นำไปสู่การจำแนกประเภท ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนเราสะดวก สามารถจด จำสิ่งต่างๆได้ เพราะเป็นหมวดหมู่
  • ช่วยตอบสนองความต้องการของเด็ก ตามธรรมชาติเด็กปฐมวัยจะสนใจเรียนรู้อยู่แล้ว การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำได้คิด เด็กจะรู้สึกอิสระและมีความสนใจค้นคว้าต่อไป
  • การเรียนรู้เรื่องรูปทรง จะเป็นบทเรียนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสสืบค้นความรู้ ตอบสนองความต้อง การรู้ตามวัยของเด็ก เด็กที่ได้รับการปูนิสัยให้เป็นคนช่างสังเกตจะสามารถพัฒนาความคิดได้ และใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน



ครูสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง ให้เด็กที่โรงเรียนอย่างไร?
1. ครูจัดมุมการเรียนรู้สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปร่าง รูปทรง เช่น มุมบล็อก มุมบทบาทสมมติ มุมหนังสือ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น
  • มุมบล็อก ครูจัดบล็อกจากวัสดุหลากหลาย อาจจะเป็นไม้ พลาสติก แผ่นยาง กระดาษแข็ง รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ สาม เหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม หลากหลายสี
  • มุมเครื่องเล่นสัมผัส จัดหาวัสดุรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ให้ได้เล่นหลากหลายลักษณะ เช่น เล่นตัวต่อ เล่นร้อย เล่นเรียง ครูจัดแยกไว้เป็นชุดๆ อาจใส่ตะกร้า เมื่อเด็กจะเล่นให้ยกมาทีละชุด จะเล่นชุดใหม่ให้เก็บชุดเดิมก่อน
  • มุมบทบาทสมมติ ครูจัดหาวัสดุที่ส่งเสริมการเล่นตามสภาพมุมที่จัด เช่น จัดเป็นร้านขายขนมไทย จัดหาแป้งโด (แป้งโดสมมติเป็นขนม) ถาดใส่แป้งโด มีดพลาสติกตัดขนมให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ตักใส่กระทงทรงกลม หรือใช้แป้งโดทำเป็นขนมชนิดต่างๆที่มีรูปทรงเรขาคณิตได้เช่น ขนมโดนัท ขนมโค มีรูปทรงกลม
  • มุมหนังสือ ครูหาหนังสือเรื่องรูปทรง หรือรูปร่างต่างๆมาให้เด็กอ่านเรื่อง เช่น เรื่องพระอาทิตย์หัวเราะขำอะไร เนื้อเรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์เห็นเด็กเล่นกับเงาของตนเองที่เกิดจากแสงของอาทิตย์มากระทบร่างของเด็กและเปลี่ยนแปลงขนาดไป หรือครูผลิตหนังสือเองตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้เรื่องรูปร่างและรูปทรง



2.ครูจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรื่อง รูปร่าง รูปทรงในหน่วยต่างๆ เด็กได้สังเกตวัสดุที่อยู่รอบตัว จากการดู สังเกตวัสดุแล้วใช้ภาษาที่มีคำศัพท์ เช่น รูปทรง.. เหมือนกับ.. รูปทรงของ.. เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ฯลฯ เด็กได้ใช้ความสามารถในการถามคำถามง่ายๆ ได้พูดหรือบรรยายรูปทรงของสิ่งนั้น เช่น บล็อกมีรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ต้นไม้มีทรงพุ่มสามเหลี่ยม ลำต้นของมะพร้าวเป็นทรงกระบอก และสิ่งต่างๆเกือบทุกชนิดมีรูปทรงสามมิติ มีเส้นรอบรูปและทรงทึบ ครูต้องจัดกิจกรรมสนับสนุนให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส ให้เด็กดู และมือลูบรอบๆรูปร่างของวัตถุสิ่งนั้น เพราะการสังเกตวัตถุนั้น นอกจากการเห็นด้วยตาแล้ว การแตะต้องหรือลูบวัตถุตามเส้นสายของรูปทรง ประสาทสัมผัสจะทำให้เด็กเข้าใจ เด็กควรมีโอกาสดูรูปทรงว่าเป็นวัตถุอะไร และดูว่ามีรูปทรงอะไรในวัตถุนั้น เช่น หน่วยเครื่องใช้ เรื่อง กระเป๋า เด็กได้ดูและสัมผัสรูปทรงเรขาคณิตได้แก่ รูปทรงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงกระบอก รูป ทรงสามเหลี่ยมฯลฯ จากกระเป๋าชนิดต่างๆ เช่น กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือคุณแม่ กระเป๋านักเรียน เป็นต้น อีกวิธีหนึ่งให้เด็กดูกระเป๋าชนิดต่างๆว่า แต่ละชนิดมีรูปทรงอะไรบ้าง กระเป๋าบางใบทั้งที่มีเพียงหนึ่งรูปทรงหรือผสมรูป ทรง เช่น กระเป๋าถือของคุณแม่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมแต่มีฝากระเป๋าสามเหลี่ยม กระเป๋านักเรียนมีรูปทรงกลม สายกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น อีกสาระหนึ่งที่ควรให้เด็กเรียนรู้คือ รูปร่างของวัตถุธรรมชาติ เช่น ขอบท้องฟ้า คลื่นในทะเล ต้นไม้ รูป ร่างของตัวเราเอง สัตว์ และพืช ด้วยการสังเกตว่าสิ่งเหล่านั้นมีรูปร่างเช่นกัน แต่ไม่มีชื่อเรียกแน่นอน จึงใช้ชื่อจากรูปร่างที่คนเราสร้างขึ้น เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม มีเทียบเคียงเรียก เช่น ใบหน้าของเธอรูปวงรี อีกคนคล้ายสามเหลี่ยม คนนั้นอ้วนกลม แต่อีกคนคอยาวทรงกระบอก
3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นการฝึกประสาทสัมผัสด้วยผิวสัมผัส เด็กจะได้สืบค้นด้วยตนเอง ได้รู้จักสิ่งต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่มีรูปทรงและรูปร่าง เพราะเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสสิ่งต่างๆ ได้แก่
  • เด็กเล่นปั้นดินเหนียวหรือแป้งโด ซึ่งเป็นวัตถุที่ช่วยให้เด็กแสดงความคิดของตนได้อย่างอิสระด้วยการทุบ คลึง กลิ้ง ปั้น ขยำ ออกมาเป็นรูปร่างหรือรูปทรง
  • การเล่นตัดและปะด้วยกาว เช่น ตัดรูปภาพจากหนังสือหรือผ้า แล้วนำมาปะติดบนกระดาษ เด็กจะสังเกตรูปร่างของภาพ ตัดวัสดุที่หลากหลายเช่น ตัดกระดาษ พลาสติก ผ้า เป็นรูปทรงเรขาคณิต วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมต่างๆ นำมาประกอบเป็นภาพใหม่ ตัดเป็นภาพคน สัตว์ สิ่งของ
  • วาดภาพการ์ตูนสัตว์ สิ่งของ คน พืช จากรูปทรงต่างๆ แล้ว ระบายสี
  • เด็กเล่นทรายเปียก จัดหาวัสดุแม่พิมพ์รูปทรงเรขาคณิตแล้วให้เด็กตักทรายใส่แม่พิมพ์ เทออกมาดูรูปทรงของทราย จะเห็นว่าเหมือนแม่พิมพ์ที่ใส่ไป เล่นน้ำ ตักน้ำใส่กล่องพลาสติกใสสี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงกระบอก ทรงสามเหลี่ยม ทรงห้าเหลี่ยม จะเห็นว่าน้ำมีรูปทรงเหมือนกล่องพลาสติกนั้น
  •  เล่นพับกระดาษสี่เหลี่ยมใหญ่ให้เล็กลงแล้วคลี่ดูรอยพับ หรือพับกระดาษรูปทรงอื่นๆดูบ้าง



4.เล่นเกมการศึกษา ฝึกการคิดแก้ปัญหา เช่นจับคู่ ระหว่างวัตถุที่ความเกี่ยวโยงกันระหว่างวิธีใช้สิ่งของกับรูปทรง ให้จับคู่แม่กุญแจกับลูกกุญแจ กรรไกรที่มีใบเป็นฟันปลากับกระดาษที่ตัดด้วยกรรไกรชนิดนี้ ตะปูเกลียวกับแป้นเกลียว หรือเล่นเกมบอกชื่อวัตถุ ที่มีรูปทรงกลมเหมือนลูกบอล ที่มีรูปทรงกลมเหมือนลูกบอล หรือแท่งไม้ เป็นต้น
5.กิจกรรมกลางแจ้ง ครูหากล่องสี่เหลี่ยมเปิดฝากล่อง ทั้งด้านบนและด้านล่าง ให้มองทะลุได้ วางกล่องต่อๆกันสองถึงสามใบ ให้เด็กลอดกล่องไป บางครั้งเด็กจะสมมติว่ากล่องเป็นถ้ำ หรือเล่นเกมที่กำหนดกติกา หากล่องขนาดใหญ่ที่เด็กเข้าไปนั่งในกล่องได้สบาย จัดหามาสามกล่องให้เด็กเล่นครั้งละสี่คน ที่เหลือเป็นผู้ดูก่อน โดยให้เด็กผู้เล่น เดินหรือวิ่งรอบๆ กล่องตามรูปร่างของกล่อง เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งให้เด็กวิ่งเข้าไปแอบในกล่องสี่เหลี่ยมกล่องละหนึ่งคน จะมีเด็กหนึ่งคนไม่มีกล่องจะเข้า ก็ให้เป็นผู้สั่นกระดิ่งแทนครู เล่นสลับกันไป จนกว่าเด็กได้เล่นครบทุกคน เล่นเกมเดินตามเส้นตรง ให้เด็กสองคนถือปลายเชือกคนละด้าน ดึงให้ตึงตรงแล้ววางลงที่พื้น ให้เด็กคนที่สามเดินเท้าเปล่าบนเส้นเชือกและให้หลับตาคลอดเวลา แล้วเดินถอยหลังบนเชือกเส้นนั้นอีก (สลับกันเดินและถือปลายเชือก)
6.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กเคลื่อนไหวตามเสียงดนตรีจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งให้เป็นเส้นตรง และเปลี่ยน เป็นให้เด็กเคลื่อนไหวอ้อมเครื่องกีดขวาง เด็กจะพบและเรียนรู้เรื่องเส้นโค้ง และเส้นหยัก ลักษณะของรูปทรงและประเภทของรูปทรงที่มีอยู่หลากหลาย


คำศัพท์
1.Geometry                         รูปทรงเรขาคณิต
2.Experience activities       กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.Educational games          เกมการศึกษา
4.Free activities                  กิจกรรมเสรี
5.Outdoor activities            กิจกรรมกลางแจ้ง
6.square                              สี่เหลี่ยมจัตุรัส
7.Colored fabric                 สี่เหลี่ยมผืนผ้า
8.compare                           เปรียบเทียบ
9.Activeties                        กิจกรรม
10.Medai                            สื่อ


ประเมินอาจารย์           อาจารย์อธิบายขั้นตอนในการทำกิจกรรมได้ง่าย และไม่ซับซ้อน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาในเรื่องของงานนำเสนอเป็นอย่างดี
ประเมินตัวเอง             ตั้งใจฟัง และทำกิจกรรม ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
ประเมินเพื่อนๆ            ตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายดีมาก ทำผลงานออกมาได้ดี 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น