วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

25 มกราคม 2562


กิจกรรมที่ 1 การทำตารางตัวเลข

     อุปกรณ์การทำสื่อ

1.กระดาษแบบแข็งแผ่นใหญ่

2.แผ่นรองตัด
3.ไม้บรรทัด
4.กรรไกร
5.มีดคัตเตอร์
6.
ดินสอ
7.สีเมจิก
8.เท็ปใส

      ขั้นตอนการทำสื่อ

ขั้นตอนที่ 1  นำกระดาษแบบแข็งแผ่นใหญ่มาตัดแบ่ง 4 แผ่นเท่าๆกัน 



ขั้นตอนที่ 2   นำมาตัดแบ่งช่องเป็นแนวนอน 10 ช่อง  แนวตั้ง 2 แถว ช่องละ 2 นิ้วทั้งหมด  2 ชุด

ขั้นตอนที่ 3  นำกระดาษที่เหลือ มาตัดทำหน่วยของจำนวน โดยวัดแล้วตัดในแนวนอน 2นิ้ว แนวตั้ง 4นิ้ว พร้อมทั้งเขียน หน่วย สิบ ไว้ที่ช่องแนวนอน 2 นิ้ว 


ขั้นตอนที่ 4 นำเท็ปใสมาติดชิ้นส่วนตารางกับหน่วยของจำนวนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถพับได้

ขั้นตอนที่ 5  นำกระดาษขาวที่เหลือมาเขียนตัวเลข  0-9  ช่องละ 1 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง ทำ 2ชุด


กิจกรรมที่ 2 ปั้นดินน้ำมัน 

อุปกรณ์ 

  1. ดินน้ำมัน
  2. แผ่นรองปั้นดินน้ำมัน
  3. ผลงานจากกิจกรรมที่ 1 
วิธีการสอน
         อันดับแรกอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ หลังจากนั้นก็แจกดินน้ำมัน และให้ปั้นผลไม้อะไรก็ได้ตามใจชอบ โดยไม่บังคับว่า ต้องเป็นลักษณะอย่างไร และใช้สีอะไร เมื่อปั้นเสร็จก็ให้บอกชื่อภาษาอังกฤษ ของผลไม้นั้นๆ





         หลังจากนั้นก็นำผลงานจากกิจกรรมที่ 1 มา และให้นำผลไม้ของตนมาวางเรียงจากซ้ายไปขวา และนับจำนวน โดยใส่เลขไว้ที่ผลไม้ผลสุดท้าย จากนั้นก็ให้แบ่งผลไม้ โดยหาเกณฑ์ต่างๆ เช่น ผลไม้ที่มีทรงกลม ผลไม่ที่มีหยาม ผลไม้สีแดง ผลไม้ที่มีเปลือก เป็นต้น สุดท้ายคือการบวกลบเลข โดยการเปรียบเทียบจำนวน อาจารย์เริ่มนำเข้าสู่การสอน สรุปได้ดังนี้

          "คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ และเป็นเครื่องมือที่จะต้องใช้เหตุและผล ดังนั้น การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จึงไม่เหมาะที่จะเริ่มต้นด้วย บวก ลบ คูณ หาร และสิ่งที่เป็นนามธรรม เพราะไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะวิธีการเรียนรู้ของเด็กคือ การที่เด็กได้ลงมือกระทำ กับวัตถุ สิ่งของ และสภาพแวดล้อม โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเด็กมีโอกาสเลือกตัดสินใจด้วยตัวเอง อยู่บนพื้นฐานความสนุกสนาน"
          **เพิ่มเติม  การใช้เกณฑ์สำหรับเด็ก ไม่ควรมีหลายเกณฑ์ ควรยึดเกณฑ์เดียวเป็นหลัก โดยเด็กจะใช้ทักษะการสังเกตให้เชื่อมโยงกับเกณฑ์

การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (Learning by doing)


           การลงมือทำหมายถึง ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติการจริงคือ ผู้เรียนได้ฝึกในสภาพสิ่งแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ทั้งนี้ การสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัยและได้ผลตามความคาดหวังของสังคมนั้น การจัดประสบการณ์จะให้ความสำคัญกับบทบาทการเรียนรู้ของเด็ก จึงได้มีการศึกษาแนว คิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ การใช้แนวคิดที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำหรือการปฏิบัติในสภาพจริง จึงเป็นที่สนใจและนำมาใช้ ดังที่ประเทศไทยได้กำหนดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 เน้นให้มีแนวการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกล่าวถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำ


การเรียนรู้โดยการลงมือทำคืออะไร?

          การเรียนรู้โดยการลงมือทำเป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป มีความสุขที่จะเรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กกับคณิจต


การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีที่มาอย่างไร?


          การเรียนรู้โดยลงมือกระทำมาจากปรัชญาหรือความเชื่อของปรัชญา พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) หรือบางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อ “การปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ” เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองคือ การให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่จะสืบค้นหาความรู้

          นักการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่มีความเชื่อปรัชญาการศึกษานี้คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้นำนักปราชญ์ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด จึงมีวลีที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการจัดการศึกษาคือ “Learning by doing” “หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง” แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือ

  • ➨ แนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา
  • ➨ มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ
  • ประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภทคือ
    • ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรอง
    • ขั้นทุติยภูมิ คือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของขั้นที่สอง
          ปรัชญาของ จอห์น ดิวอี้ เป็นปรัชญาที่ยกย่องประสบการณ์ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการกระทำในสถานการณ์จริง การศึกษาตามทัศนะของจอห์น ดิวอี้คือ ความเจริญ งอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถาน การณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวน การต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ ปัญหา เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นและแก้ปัญหาเป็น โดยการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ บางครั้งก็เรียนวิธีสอนนี้ว่าการสอนแบบวิทยาศาสตร์

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีลักษณะอย่างไร?



  • ⇨ มีจุดมุ่งหมาย มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาไปใช้ในการตัดสินใจ
  • ⇨ จัดการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความถนัดและความสนใจ
  • ⇨ ครูมีลักษณะของการเป็นผู้รอบรู้และมีประสบการณ์ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน
  • ⇨ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรับประสบการณ์จากการกระทำของตนเอง ผู้เรียนได้ทดลอง ทำปฏิบัติ สืบเสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล หาข้อสรุป และหาวิธีการกระบวนการด้วยตนเอง
  • ⇨ จัดหลักสูตรจะเน้นประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นหลักสูตรกิจกรรม









ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กกับคณิจต

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร


  • เด็กจะเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง
  • ➡ เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ ลำตัว แขน ขา และกล้ามเนื้อเล็กซึ่งได้แก่ นิ้วมือ
  • ➡ เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทำให้เกิดเป็นประสบการณ์
  • ➡ เด็กได้รู้จักการสืบค้นหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา
  • ➡ เด็กจะได้เข้าใจธรรมชาติ
  • ➡ เด็กจะเกิดความคิดสร้างสรรค์
  • ➡ เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
  • ➡ เด็กได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ➡ เด็กจะได้พัฒนาวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ รวมทั้งรับรู้ลักษณะอารมณ์แต่ละชนิด เช่น ชอบกลิ่นหอม แต่ไม่ชอบกลิ่นเหม็น ไม่ชอบเดินเท้าเปล่าเหยียบก้อนหินที่แข็งหยาบ แต่จะรู้สึกชอบเดินบนพรมที่อ่อนนุ่นสบายฝ่าเท้า ไม่ชอบเสียงดนตรีที่แผดเสียงดัง แต่ชอบเสียงดนตรีบรรเลงเพลงเบาๆ เป็นต้น
  • ➡ เด็กจะได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้คิดและเข้าใจความเป็นเหตุผล



















ประเมินอาจารย์ อาจารย์พาทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ สามารถนำความรุู้จากตรงนี้ไปใช้ได้จริง
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรม และช่วยเพื่อนตอบคำถามจากอาจารย์
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม และให้ความร่วมมือทำกิจกรรมดีมาก


คำศัพท์

1. Mangosteen   มังคุด                
2. Strawberry       สตอเบอร์รี่    
3. Banana              กล้วย  
4. Watermelon     แตงโม                   
5. Durian               ทุเรียน             
6. Rose apple        ชมพู่                 
7. Custard apple   น้อยหน่า             
8. Mango               มะม่วง
9. Cherry                เชอร์รี่  
10. Grape                 องุ่น              
11. Apple                 แอปเปิ้ล 
12. Tamarind           มะขาม          
13. Orange               ส้ม                              


















วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

18 มกราคม 2562


            วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง การทำบล็อค เพื่อให้เพิ่มเติมหรือแก้ใขในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยอาจารย์จะเช็คทีละส่วน ว่าสมควรแก้ตรงไหน อย่างไร เพื่อให้ได้บล็อคที่ถูกต้อง และน่าสนใจ



กิจกรรม Mind Mapping




        ความรู้ที่ได้รับ

     ความหมายของ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรัับเด็กปฐมวัย ซึ่งแยกออกเป็น การจัดประสบการณ์+คณิตศาสตร์+เด็กปฐมวัย

  • การจัดประสบการณ์ คือ ได้ให้ความหมายของการจัดประสบการณ์ไว้ว่าการจัดประสบการณ์ หมายถึง การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย  โดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมิใช่มุ่งจะให้อ่านเขียนได้ดังเช่นในระดับประถมศึกษาแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้ดี





  • คณิตศาสตร์ คือ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับจำนวน การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน ฟังก์ชันและความสัมพันธ์ ความน่าจะเป็น และการวัดที่เน้นการเปรียบเทียบและการจำแนก การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ การเรียนภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการจัดกิจกรรมปฏิบัติการหรือการลงมือกระทำ ทำให้เด็กซึมซับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เป็นทักษะพื้นฐานนำไปสู่ทักษะการคิดคำนวณ การบวก การลบในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


  • เด็กปฐมวัย คือ ปฐมวัยหรือช่วงขวบปีแรกๆ ของชีวิต เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก โดยเป็นช่วงวัยที่เด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งทางสมอง การใช้ภาษา ทักษะทางสังคม ทางอารมณ์ และการเคลื่อนไหว เป็นช่วงวัยของการสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตและการเรียนรู้ต่อไปในชีวิต

การทำงานของสมอง

  • ทำงานผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ผ่านการกระทำจากวัตถุ สมองจะซึมซับ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง จะเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม และเกิดการเรียนรู้ เพื่อการอยู่รอด

วิธีการของเด็กที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

  • เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ของเขาลงมือปฏิบัติ และส่งไปสมอง







วิธีการสอนในชั้นเรียน

  • ตั้งประเด็นคำถาม 
  • การแสดงความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม

ประเมิน

  • สภาพแวดล้อมในห้องเรียน  สภาพการเขียนไม่ถนัดนัก เพราะไม่มีโต๊ะสำหรับเขียนงาน
  • อาจารย์  ให้คำแนะนำในการทำงานเป็นอย่างดี
  • ตนเอง  ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม พยายามมีส่วนร่วมในทุกๆกิจกรรม
  • เพื่อนๆ ทุกคนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี



คำศัพท์
1.Mathematics  คณิตศาสตร์
2.Experience  arrangement  การจัดประสบการณ์
3.Behavior  พฤติกรรม
4.Brain  function การทำงานของสมอง
5.Absorb  ซึมซับ
6.Comparison การเปรียบเทียบ
7.Counting   การนับจำนวน
8.Geometry  รูปทรงเรขาคณิต
9.Nature ลักษณะ

10Mind map  แผนผังความคิด





วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


สรุปงานวิจัย
     

  งานวิจัย การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

           ของ นางสุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ /หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
           สาขาวิชา หลักสูตรและการนิเทศ /มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2552


           คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์รวมถึงเป็นความรู้เครื่องมือที่ใชอยู่ในชีวิตประจำวัน การเตรียมความพร้อมที่สอดคล้องกับธรรมชาติและวุฒิภาวะและความสนใจมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นประสบการณ์สำคัญของเด็กที่ควรได้รับและส่งเสริมให้พัฒนา โดยผู้วิจัยได้จัดทำวิจัยการเปรียบเทียบประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตสาสตร์ โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูและการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงเพื่อความพร้อมของเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี เนื่องจากเกมการศึกษาและเพลงเป็นสื่อที่นักเรียนชอบ เหมาะสมกับวัย ช่วยให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เข้าใจบทเรียนได้ดีและเร็วขึ้น เพื่อจะได้ปูพื้นฐานที่มั่นคงในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไป และเพื่อแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีพัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำกว่าพัฒนาการด้านอื่นๆ

          การวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนักรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนสองกลุ่ม โดยจัดประสบการณ์ตามแผนการสอน
     ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ของโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี โดยสุ่มตัวอย่างจาก 2 ห้องเรียน คือห้อง 2/4 และห้อง 2/6 ห้องเรียนละ 30 คน โดยห้อง 2/4 เป็นกุ่มทดลอง และ 2/6 เป็นกลุ่มควบคุม
กลุ่มควบคุม     ได้รับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
กลุ่มทดลอง     ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
เนื้อหาที่นำมาใช้ทดลอง คือ เนื้อหาที่สร้างแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1) การนับสิ่งต่างๆ 2) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง 3)การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ 4)การนับจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

วิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
         โดยเริ่มต้นทดสอบก่อนเรียน แล้วใช้เกมและเพลงที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เร้าความสนใจของเด็ก นำเข้าสู่บทเรียน ให้ความรู้ใหม่โดยครูอธิบายกติกาการเล่นเกมแต่ละเกมแล้วนักเรียนแบ่งกลุ่มทดลองเล่นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทำการสังกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ ให้เด็กสรุปความรู้ที่ได้จากการเล่น ทดสอบหลังเรียน

วิธีการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
          โดยเริ่มต้นทดสอบก่อนเรียน ครูแจกเกมการศึกษาอธิบายวิธีการเล่นเกมการศึกษาแต่ละชนิด นักเรียนทดลองเล่นเกมการศึกษาและเล่นตามคู่มือครู ทำการสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาตั้งแต่ต้นจนจบ สรุปความรู้ที่ได้รับ ทดสอบหลังเรียน

ผลสรุป หลังจากจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองปละกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน  โดยความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเเละเพลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยเนื้อหาการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด และการนับจำนวนเพิ่ม ลด ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด จากความคิดเห็นของนักเรียนพบว่า เด็กมีควมพึงพอใจในการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาทุกด้าน ทั้งบรรยากาศ และวิธีการ






สรุปวีดีโอสื่อการสอน
   เรื่อง เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม

 เทคนิคการแก้ปัญหาการลบเลขแบบไม่ต้องยืม โดย ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เห็นว่าวิธีการลบเลขแบบที่เราเคยเรียนมา นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหา เมื่อเวลาที่ต้องลบเลขแบบตัวตั้งบางตัว เป็นตัวเลขที่น้อยกว่าตัวที่นำมาลบ เพราะนักเรียนต้องใช้วิธีการยืม เมื่อต้องยืมตัวเลขไปมาก็อาจจะทำให้ลืมที่จะต้องยืมได้ ค่าหรือคำตอบที่ได้ก็จะผิดพลาด เมื่อเด็กคิดผิดเด็กก็จะไม่อยากเรียน ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ไปในที่สุด แต่หากเป็นตัวตั้งที่มากกว่าก็ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้น อ.ชัยศักดิ์จึงได้คิดค้นวิธีการลบเลขแบบใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “เทคนิคการลบเลขโดยไม่ต้องขอยืม” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และไม่ยุ่งยากในการลบเลข โดยได้ถ่ายทอดเทคนิคนี้ให้กับครูอีก 3 ท่านไปใช้อีกด้วยเป็นการสอนคณิตศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียน สามารถคิดเลขได้ดี การลบเลขของนักเรียนนั้นส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียนที่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ มีความชอบและความเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้อยากเรียน และมีกำลังใจในการเรียนรู้วิชาคณิศาสตร์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้คุณครูทั้งหลายได้มีวิธีการสอนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเรียนคณิตศาสตร์ถ้าเข้าใจ สนุก นักเรียนก็จะมีความสุขและรักการเรียนมากขึ้น 

ตัวอย่าง 





ซึ่งวิธีการนี้อาจจะทำให้เด็กยืมและลืม สับสนว่าเลขใดเป็นเลขใด หากคิดเลขผิดไปหนึ่งตัวก็จะทำให้คำตอบผิดไปได้ ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ จึงคิดวิธีการลบเลขโดยไม่ต้องยืม โดยมีวิธีการดังนี้ วิธีการก็คือ เปลี่ยนตัวเลขตัวตั้งที่น้อยกว่าตัวลบให้เป็นเลขฐานสิบที่มากที่สุดคือเลข 9 และตัวตั้งที่มากกว่าอยู่แล้วให้ลบออกไป ตัวอย่างเช่น


 ซึ่ง 4,204 ยังไม่ใช่คำตอบของโจทย์นี้เพราะตั้งตั้งได้เปลี่ยนไป วิธีการต่อมาคือ การนำคำตอบ แล้วตัวเลขที่ถูกเปลี่ยนจากโจทย์คือ 204 มาบวกกับ 1 อีก ซึ่ง 1 คือตัวเลขที่ถูกลบจากตัวตั้งที่มากกว่า




เพียงเท่านี้เราก็จะได้คำตอบของโจทย์นี้ โดยไม่ต้องใช้การขอยืม ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนคณิตศาสตร์และเข้าใจได้ง่ายขึ้น วิธีการนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีสมองช้าและสมองปานกลาง

**ครูมีหน้าที่แก้ปัญหาไม่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับเด็กกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ก็ตาม**



สรุปบทความ
เรื่อง การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูก 



    การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูก พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ และสนับสนุน เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นแรงขับสำคัญในการเรียน ถ้าเด็กมีความกังวล และขาดความเชื่อมั่นในวิชาคณิตศาสตร์ ก็จะส่งผลต่อผลการเรียน และการผลการทดสอบในวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย พ่อแม่บางคนอาจจะรู้สึกเฉยๆ กับการที่ลูกขาดความมั่นใจในวิชาคณิตศาสตร์ เพราะอาจจะคิดว่าก็แค่การที่ลูกไม่ชอบเรียนในวิชาหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะว่า ความเชื่อมั่นในวิชาคณิตศาสตร์ จะเป็นตัวบั่นทอนความมั่นใจในตัวลูกของเราไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น เด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเองไปในที่สุดบทบาทของพ่อแม่ที่เหมาะสมที่สุดในการสนับสนุนการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูกคือ การเสริมความมั่นใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของลูกให้คุณพ่อคุณแม่นึกในใจเสมอว่า "ความมั่นใจ" เป็นปัจจัยสำคัญมากๆ ในการเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี ปัจจัยที่จะทำให้เด็กเสียความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์ในช่วงอนุบาล 3 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 2 คือ การที่เด็กคำนวณช้า หรือคำนวณผิด ถ้าลูกของเราบวก ลบ เลขได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ บอกคำตอบช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ เขาก็จะเสียความมั่นใจไปเรื่อยๆ ดังนั้นการเสริมความมั่นใจให้กับเด็กในวัยนี้ที่ดีที่สุด คือ การซื้อแบบฝึกหัดทักษะการคำนวณ มาให้ลูกได้ฝึกทำอย่างสม่ำเสมอเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าลูกของเราบวก ลบ หรือคำนวณได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เขาก็จะมีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น



ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่
     1. คอยดูแบบฝึกหัด หรือการบ้านคณิตศาสตร์ของลูกเรา
     2. จัดสรรเวลาให้ลูกได้ฝึกทำแบบฝึกหัดประเภทโจทย์ปัญหาในระดับที่เหมาะสมกับศักยภาพของเขา
     3. ควรจัดสรรเวลา ควบคู่ไปกับเวลาเล่นของลูกครับ เช่น ถ้าทำเสร็จ 10 ข้อ แล้วค่อยไปเล่น
     4. ควรถามให้ลูกเราอธิบายข้อที่เขาทำได้ถูก และชื่นชมเขา
     5. ถ้าเราทราบว่าลูกเราชอบทำผิดในส่วนไหนซ้ำๆ ให้เราใช้ปากกาวง หรือชี้จุดที่ควรระวังให้ลูกเรา ก่อนที่จะให้เขาทำ
     6. ย้ำกับลูกเสมอว่า ให้อ่านโจทย์ดีๆ ว่า โจทย์ให้ข้อมูลอะไรมา ให้ความสัมพันธ์ หรือเงื่อนไขอะไรมา และสุดท้ายต้องย้ำให้ลูกเราเตือนตัวเองเสมอว่า ให้อ่านให้รอบคอบว่าโจทย์ถามอะไร
     7. การปลูกฝัง ให้ลูกเรียนหนังสือกับเพื่อน ช่วยติวให้เพื่อน นั่งทำแบบฝึกหัดกับเพื่อน
     8. ถ้าลูกเราอยู่ในระดับ ป.3 ขึ้นไปแล้ว ไม่ควรให้ลูกเราฝึกทำแต่แบบฝึกหัดฝึกทักษะคำนวณ เพราะเด็กจะรู้สึกเบื่อหน่าย
     9. วิธีที่ทำให้เด็กสนุก และเข้าใจกับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด คือ การใช้ภาพในการตีความโจทย์
     10. เปิดโอกาสให้ลูกได้ไปสอบแข่งขันบ้าง

สรุป 
สิ่งที่สำคัญในการทำให้ลูกเราเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจ  อันดับแรกคือความมั่นใจของลูก ส่วนอันดับที่สอง คือการฝึกทบทวนกับเพื่อนๆ และอันดับที่ 3 คือการฝึกทำแบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย มีการจัดสรรเวลาที่ดี กับเวลาเล่น หรือเวลานันทนาการ พ่อแม่คือส่วนสำคัญของลูกที่จะพัฒนาความมั่นใจ และความชอบในการเรียนคณิตศาสตร์ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดที่สุด