วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

22 มีนาคม 2562


         วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนอสื่อของตัวเอง ใครที่สื่อยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ก็ให้นำกลับไปแก้ใข และใครที่ทำผ่านแล้วสามารถส่งได้เลย



สื่อ ร้อยลูกปักจากฝาขวด

เป็นของกลุ่มดิฉันเอง ดิฉันได้นำเสนอถึงวิธีการสอน คือ

1.ร้อยลูกปัดตามจำนวนตัวเลข
2.ร้อยลูกปัดจากแบบที่กำหนดให้
*อาจารย์ได้แนะนำให้ทำแบบหลายๆรูปแบบซึ่งเป็นการสอนแบบอนุกลม



แบบรูปและความสัมพันธ์ (อนุกรม)

จุดประสงค์การเรียนรู้

ในช่วงชั้นปฐมวัยเด็กๆเรียนรู้เรื่องแบบรูปเพื่อฝึกสังเกตุความสัมพันธ์ และสามารถสร้างแบบรูปที่มีความสัมพันธ์กันขึ้นเอง เด็กๆจะได้ฝึกสังเกตุมองหารูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร และสามารถนำไปต่อยอดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ในบทเรียนพีชคณิตขั้นสูงขึ้นต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งการการได้ปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ การที่เด็กๆจะได้ฝึกทักษะต่างๆเหล่านี้

  - ทักษะการสังเกตุ แยก จัดกลุ่มตามรูปแบบความสัมพันธ์ของวัตถุ 

  - ทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน และรอบคอบ

ก่อนเรียนรู้บทเรียนนี้ผู้เรียนควรมีพื้นฐานในเรื่องต่อไปนี้ (ขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนของแบบรูป)
  - รูปทรงเรขาคณิต สี ขนาด 
  - จำนวนและตัวเลข ลำดับอักษรไทย อังกฤษ


แบบรูปคืออะไร?

แบบรูป (Patterns) หรือที่บางครั้งเรียกว่า อนุกรม คือ ชุดของตัวเลข หรือรูปภาพที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือขนาด ตามกฏเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูป เราก็จะสามารถบอก คาดเดาหรือคาดการณ์ได้ว่า สิ่งต่างๆ รูปเรขาคณิต รูปอื่นๆ หรือ จำนวนที่หายไปคืออะไร


แบบรูปมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

ตามหลักแล้วเราแบ่งแบบรูปออกตามประเภทความสัมพันธ์ได้ดังนี้
1. แบบรูปของจำนวน (Number Patterns)
    เป็น แบบรูปที่แสดงชุดของตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น
    
    1.1 แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้น
    ตัวอย่าง
    แบบรูปที่จำนวนเพิ่มขึ้นทีละ 1: 1, 2, 3, 4, 5, ...
    แบบรูปที่จำนวนเพิ่มขึ้นทีละ 2: 2, 4, 6, 8, 10, ...
    แบบรูปที่จำนวนเพิ่มขึ้นทีละ 10: 11, 21, 31, 41, ...

    
    1.2 แบบรูปของจำนวนที่ลดลง
    ตัวอย่าง
    แบบรูปที่จำนวนลดลงทีละ 1: 9, 8, 7, 6, 5, ...
    แบบรูปที่จำนวนลดลงทีละ 2: 19, 17, 15, 13, 11, ...
    แบบรูปที่จำนวนลดลงทีละ 5: 50, 45, 40, 35, ...

    
    1.3 แบบรูปของจำนวนที่ซ้ำ
    ตัวอย่าง
    แบบรูปที่ 1: 1, 22, 2, 22, 3, 22, 4, 22, ...
    แบบรูปที่ 2: 4, 56, 6, 56, 8, ...
    แบบรูปที่ 3: 123, 4, 123, 5, 123, 6, ...

2. แบบรูปเรขาคณิต (Geometric Patterns)
    เป็น แบบรูปที่แสดงชุดของรูปเรขาคณิตที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น
     2.1. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของรูปร่าง
         ตัวอย่าง

        จากการจะสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสีเดียวกันแตกต่างกันเพียงรูปทรงที่เรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ 

     2.2. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของสี
        ตัวอย่าง

        จากการสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตรูปทรงเดียวกันแตกต่างกันเพียงสีที่เรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ 

     2.3. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของขนาด
         ตัวอย่าง

       จากการสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตรูปทรงเดียวกันสีเดียงกันแตกต่างกันเพียงขนาดที่เรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ


3. แบบรูปอื่นๆ (Picture Patterns)

    เป็น แบบรูปที่แสดงชุดของรูปภาพที่ไม่ใช่รูปเรขาคณิตที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
    เช่น แบบรูปที่มีทิศทางสัมพันธ์กัน
    ตัวอย่าง

         จากการสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปนี้เป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปรูปภาพต่างๆเรียงสลับกันไปเรื่อยๆตามข้อกำหนดของแต่ละแบบรูป                      

การสอนลูกให้รู้จักแก้ปัญหาแบบรูป
การแก้ปัญหาแบบรูปไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กเล็กที่จะเข้าใจวิธีคิดและสามารถตอบได้ด้วยตัวเอง เราจึงต้องค่อยๆสอนทีละขั้น โดยก่อนที่จะให้ลูกๆทำแบบฝึกหัด เราสามารถสอนเค้าผ่านการฝึกสังเกตุแบบรูปที่พบเห็นรอบๆตัว เช่น ลวดลายบนเสื้อผ้า ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน รวมไปถึง การเรียงตัวของลูกปัดบนสร้อยหรือการจัดเรียงกระเบื้องที่ปูพื้นและผนังห้องน้ำ เป็นต้น จากนั้นเมื่อเขาเริ่มเข้าใจความหมายของแบบรูปแล้วเราอาจชวนลูกทำกิจกรรมฝึกการสังเกตผ่านการเล่น เช่น ใช้สิ่งของในบ้านมาต่อกัน ร้อยลูกปัด พิมพ์ภาพ หรือแม้แต่ใช้ ตัวต่อที่ลูกเล่นบ่อยๆมาใช้สอนก็ได้ เมื่อสอนแล้วควรเริ่มจากรูปแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อนให้ลูกฝึกจนเกิดความชำนาญเสียก่อนแล้วจึงขยับระดับความยากของเนื้อหาไปสอนขั้นที่ซับซ้อนขึ้นไป ตามลำดับดังนี้
 à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 1. ฝึกสังเกตแบบรูปที่เรียงกันเป็นเส้นตรงแถวเดียว (อนุกรมแถวเดียว) เพื่อฝึกสังเกตหารูปแบบความสัมพันธ์ และจำนวนภาพในแต่ละชุดภาพก่อน

ขั้นที่ 2. ฝึกสังเกตุแบบรูปที่นอกเหนือจากการต่อกันเป็นเส้นตรง เช่น แบบรูปวงกลม หรือแบบรูปเก้าช่อง เพื่อฝึกทักษะการสังเกตุความสัมพันธ์ในแบบรูปที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่จริงๆก็ยังใช้แนวคิดเดียวกัน กรณีแบบรูปวงกลมอาจจำลองการร้อยลูกปัดเป็นเส้นแล้วค่อยนำมามัดเป็นวงกลมจะช่วยให้เด็กๆเห็นภาพความสัมพันธ์ชัดขึ้นค่ะ

ขั้นที่ 3. ฝึกสังเกตแบบรูป 2 ชั้น (อนุกรม 2 ชั้น) เพื่อฝึกทักษะการสังเกตุความสัมพันธ์ในแบบรูปที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ในแบบรูปหนึ่งอาจมีความสัมพันธ์ทั้งรูปร่างและขนาดในแบบรูปเดียวกัน เป็นต้น

คำศัพท์
1.Relationship                                                   ความสัมพันธ์
2.observance                                                     การสังเกต
3.Skills                                                              ทักษะ
4.Creativity                                                        ความคิดสร้างสรรค์
5.Set                                                                   กำหนด
6.Equipment                                                       อุปกรณ์
7.Step                                                                 ขั้นตอน
8.Present                                                            นำเสนอ
9.Number                                                           ตัวเลข
10.Modify                                                          แก้ไข

ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังงานที่เพื่อนนำเสนอ และฟังข้อเสียของงานตัวเอง เอามาปรับปรุง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจนำเสนอสื่อของตัวเอง และฟังกลุ่มอื่นๆอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงสื่อ


วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

15 มีนาคม 2562
          วันนี้อาจารย์ได้ให้ไปทำสื่อเพิ่มเติม นัดมายให้ส่งวันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม



กิจกกรม..การร้อยลูกปัด

กิจกรรมการร้อยลูกปัดสำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกำรใช้กล้ามเนื้อเล็กในการ หยิบจับลูกปัดและกำรประสานสัมพันธ์ระหว่าง มือและตา  ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส  ฝึกสมาธิ ฝึกกำรสังเกต  จำแนก  เรียงลำดับ  อธิบายถึง ความสัมพันธ์  เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรม  ได้รับประสบการณ์ตรงจากการฝึกปฏิบัติจริงโดย มีอุปกรณ์คือ ลูกปัดที่มี่สีสันสวยงามและมีรูปทรง เรขาคณิตที่แตกต่างกันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ที่เหมาะสมกับวัย  เส้นด้าย  เชือก  เส้นลวดและ เส้นเอ็น  
แบบรูป (Patterns) หรืออนุกรม คือ ชุด ของตัวเลข หรือรูปภาพที่มีความสัมพันธ์กัน อย่าง ใดอย่างหนึ่งในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด แบบรูปเป็นการ จดจำลวดลายหรือรูปแบบได้  ลำดับคือกลุ่มของ สิ่งที่อยู่เป็นลำดับและเป็นไปตามกฎใดกฎหนึ่ง ซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนด ในแต่ละแบบรูป เราก็จะสามารถบอกการคาดเดา หรือคาดการณ์ได้ว่า สิ่งต่างๆ รูปเรขาคณิต รูปอื่นๆ หรือ จำนวนที่หายไปคืออะไร   

นักเรียนเรียนแบบรูปเพื่อฝึกสังเกตความสัมพันธ์ พัฒนาการจำแนกด้วยสายตา และ สามารถสร้างแบบรูปที่มีความสัมพันธ์กันขึ้นเอง เด็กๆจะได้ฝึกสังเกตมองหารูปแบบความสัมพันธ์ของ สิ่งต่างๆว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร การฝึกการ สังเกตและวิเคราะห์แบบรูป  เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วย ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสร้างองค์ความรู้ทาง คณิตศาสตร์  และสามารถนำไปต่อยอดในชั้นเรียน คณิตศาสตร์ในบทเรียนพีชคณิตขั้นสูงขึ้นต่อไป

การร้อยลูกปัดตามแบบรูปเป็นการบอก ลักษณะของแบบรูปที่จะเกิดในลำดับต่อไปและ สามารถต่อรูปแบบได้สมบูรณ์  การที่เด็กจะได้ฝึกการ ร้อยลูกปัดตามแบบรูปจะช่วยให้เกิดทักษะต่างๆ เหล่านี้    - ทักษะการสังเกต แยก จัดกลุ่มตามรูปแบบ ความสัมพันธ์ของวัตถุ     - ทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้มีกระบวนการคิด อย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน และรอบคอบ ผลงาน ที่เกิดจากการคิดการวางแผนและการปฏิบัติงาน





วัตถุประสงค์


  • เพื่อพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ของมือและตา
  • เพื่อพัฒนาทักษะและความชำนาญของกล้ามเนื้อต่างๆ
  • เพื่อฝึกสมาธิ
  • เพื่อให้เด็กมีความเป็นตัวของตัวเอง
  • เพื่อให้เด็กเกิดความมีระเบียบวินัย
  • เพื่อพัฒนาทักษะด้านการออกแบบ
  •  เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการนับ
  • เพื่อพัฒนาการสังเกต การจำแนก การเรียงลำดับ
  • เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดที่เป็นระบบ อธิบายถึงความสัมพันธ์ บอกลักษณะของรูปในลำดับต่อไปได้




อุปกรณ์

1.ฝาขวดน้ำหลากสี

2.ที่เจาะฝาขวด

3.ปืนกาว , แท่งกาว
4.สก็อตเทปใส
5.กรรไกร คัดเตอร์
6.กระดาษสี
7.กล่องเหลือใช้
8.เชือก
9.ไม้หนีบ




ขั้นตอนการทำ

1.นำฝาขวดทั้งหมดมาเจาะรูตรงกลาง
2.นำฝาที่เจาะแล้วนำมาทำให้ติดกันโดยใช้ปืนกาว และใช้สก็อตเทปใสติดรอบข้างของฝาขวดน้ำเพื่อความแข็งแรง
3.นำกระดาษสีมาห่อติดกับกล่องเพื่อความสวยงามและ นำมาใส่ฝาขวดน้ำที่เตรียมไว้
4.นำเชือกมาตัดตวามความยาวและจำนวนที่ต้องการ มัดปมตรงปลายเชือก




รูปแบบกิจกรรม

1.ให้เด็กร้อยลูกปัดตามจำนวนตัวเลขที่กำหนดไว้
2.ให้เด็กร้อยลูกปัดตามรูปแบบที่กำหนดให้


ประโยชน์

1.เด็กๆได้ฝึกฝนสมาธิของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้อื่นได้ เด็กจะมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้นาน
2.เด็กได้เรียนรู้การเล่นกับผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น



พัฒนาการที่ได้

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
เด็กได้ใช้ความคิดในการสร้างสรรค์สร้อยคอ สร้อยข้อมือลูกปัด ของตนเอง ได้เรียนรู้การออกแบบสร้อยลูกปัดของตัวเองในแบบของตัวเอง

พัฒนาการทางด้านอารมณ์
เด็กๆได้ฝึกสมาธิ ให้ใจรู้สึกสงบนิ่ง มีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี มีการควบคุมอารมณ์ที่มั่นคงมากขึ้น

พัฒนาการทางด้านสังคม
เด็กเรียนรู้การเล่นกับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือ ฝึกการประสานงานระหว่างมือและตา :)



คำศัพท์
1.     objective                                                     วัตถุประสงค์
2.     observance                                                การสังเกต
3.     Skills                                                           ทักษะ
4.     Step                                                            ขั้นตอน
5.     Number                                                      จำนวน
6.     Set                                                              กำหนด
7.     Train                                                           ฝึกฝน
8.     Equipment                                                  อุปกรณ์
9.     Creativity                                                    ความคิดสร้างสรรค์
10.Relationship                                               ความสัมพันธ์

ประเมินตนเอง : ช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มได้ดี
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน มีความแบ่งปัน
ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำสื่อ