วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ิ 11

19 เมษายน 2562






วันนี้เรียนเรื่อง กรอบการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย อาจารย์ได้ให้ทำสรุปออกมาในรูปแบบ มายแมพปิ้ง สาระที่ได้มีดังนี้ 

          โลกในศตวรรษที่ 21 ต้องการพลเมืองที่รู้คณิตศาสตร์ แต่เด็กไทยยังมีความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจ ดังเห็นได้จากผลการทดสอบระดับชาติทุกๆปี ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับการศึกษาไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ ทั้งนี้ การศึกษาคณิตศาสตร์ที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักสูตรหรือเทคโนโลยี แต่ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ
          การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กในช่วง 5 ปีแรกเกิดของชีวิตจะมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นวัยแห่งการเรียนรู้และต้องการการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจะต้องจัดประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตมีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ และความสามารถของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กปฐมวัยกับคณิตศาสตร์          คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์มีความคิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนการพัฒนาความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่ารอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผนการแก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ
           เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาและเสริมสร้างให้เด็กรู้ เข้าใจธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้ และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในชั้นประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
3. เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4. พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์
5. การวิเคราะห์และความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กปฐมวัยกับคณิตศาสตร์
          แม้ว่าคณิตศาสตร์จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในชั้นปฐมวัย แต่ครูปฐมวัยอาจรู้สึกไม่ค่อยถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ ความวิตกกังวลของครูมักเกิดจากประสบการณ์ของตนเอง การเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นปฐมวัยครูอาจนับสิ่งของต่างๆ หรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับการนับเลขพร้อมกันกับเด็ก ครูปฐมวัยจะมีความคุ้นเคยกับแนวคิดของหลักสูตรการบูรณาการอยู่แล้ว ครูอาจพัฒนาเกมคณิตศาสตร์เพื่อนำไปใช้ร่วมกับหนังสือที่เด็กๆ ชื่นชอบ รวมทั้งวางแผนการแสดงบทบาทสมมติ และการเตรียมตัวสำหรับไปทัศนศึกษา หรือจัดกิจกรรมที่ช่วยอธิบายและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทำให้ช่วยขยายความรู้ของเด็กได้ ซึ่งจะสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และปูพื้นฐานการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้แก่เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี

·  จำนวนและการดำเนินการ: ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง การดำเนินการของจำนวน อัตราส่วน ร้อยละ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง


·  การวัดความยาว ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตรและความจุ เงินและเวลา หน่วยวัดระบบต่าง ๆ การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัด อัตราส่วนตรีโกณมิติ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด และการนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ


·  เรขาคณิต: รูปเรขาคณิตและสมบัติของรูปเรขาคณิตหนึ่งมิติ สองมิติ และสามมิติ การนึกภาพ แบบจำลองทางเรขาคณิต  ทฤษฎีบททางเรขาคณิต  การแปลงทางเรขาคณิต (geometric transformation)ในเรื่องการเลื่อนขนาน (translationการสะท้อน (reflectionและการหมุน (rotation)

  

·  พีชคณิต: แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน เซตและการดำเนินการของเซต การให้เหตุผล นิพจน์ สมการ ระบบสมการ อสมการ กราฟ ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต อนุกรมเลขคณิต และอนุกรมเรขาคณิต


·  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น: การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม การกำหนดวิธีการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล  ค่ากลางและการกระจายของข้อมูล  การวิเคราะห์และการแปลความข้อมูล การสำรวจความคิดเห็น ความน่าจะเป็น   การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน 


·ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์




คำศัพท์ 
1. Mathematics คณิตศาสตร์
2. Geometry เรขาคณิต
3. Length ความยาว
4. Weight น้ำหนัก
5. Volume ปริมาตร
6. Algebra พีชคณิต
7. Analyze วิเคราะห์
8. Probability ความน่าจะเป็น
9. Direction ทิศทาง
10. Position ตำแหน่ง



ประเมินอาจารย์    อาจารย์ให้คำปรึกษาในการทำ mind mapping ได้ดีมากๆ เมื่อมีข้อสงสัยหรือผิดพลาด อาจารย์ก็คอยช่วย คอยดูแล
ประเมินตัวเอง      ตั้งใจทำงานจนเสร็จ และตั้งใจฟังอาจารย์ดีมาก
ประเมินเพื่อน       ต้้งใจทำงานของตน อาจมีเสียงดังบ้าง แต่ภาพรวมก็ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น